วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จะเรียนอะไรดี : เรียนสาย สามัญ สำคัญกว่า สายอาชีพ จริงหรือ ? เรียนต่อสายใหนดี ? จบไว ได้งาน มีเงิน มีอนาคต

ถามมา....เรียนอะไรดี ระหว่าง สายสามัญ กับ สายอาชีพ ต่างกันอย่างไร

ตอบไป.....ตลาดแรงงานตอนนี้ต้องการคนจบ ปวช. และ ปวส. ในสาขาวิชาต่างๆ มาทำงาน มากกว่าคนจบปริญญาตรี มาก เนื่องจากกำลังการจ้างผู้จบปริญญาตรีน้อย รวมถึง งานที่คนจบระดับปริญญาตรี มีน้อย ต้องแข่งขันกันสูง และ ตลาดแรงงาน ไม่ได้ต้องการผู้จบ ม.6 มากนัก

สำหรับสายสามัญ เรียน ม.4 - 6 จบแล้ว ต้องต่อระดับปริญญาตรีอีก 4 ปี บางสาขา 5-6 ปี ก็มีจึงสามารถประกอบอาชีพได้ ระหว่างยังไม่จบปริญญาตรีคุณไม่สามารถรับงานต่างๆ ได้เลย เพราะยังไม่มีความรู้ด้านวิชาชีพดีพอ ดังนั้นจึงตั้งชื่อว่า "การเรียนเพื่อเรียน" หมายถึง เรียนแล้วนำความรู้ไปเรียนอีก แล้วก็เรียนอีก จนกว่าจะจบจุดสูงสุดจึงจะมีงานทำ  กว่าจะจบใช้เวลาเรียน 7 ปี ได้สองวุฒฺิ ม.6 และ ปริญญา

สำหรับสายอาชีพ เรียนจบ ม.3 ต่อ ปวช. 3 ปี (เทียบเท่าจบ ม.6) ได้ประกาศนียบัตรมา 1 ใบ สามารถประกอบอาชีพได้เลย ถ้าไม่พอใจ เรียนต่อ ปวส. 2 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรี 2 ปีแรก) ได้ประกาศนียบัตรมาอีก 1 ใบ สามารถประกอบอาชีพให้เงินเดือนสูงขึ้น หรือค่าตอบแทนสูงขึ้นอีกกว่า ปวช. ถ้ายังไม่พอใจอีก เรียนต่อ ปริญญาตรี (แบบต่อเนื่องสาขาวิชาจาก ปวส.) อีก 2 - 3 ปี ได้รับปริญญาบัตรมา 1 ใบ สามารถประกอบอาชีพได้ค่าตอบแทนสูงกว่า ปวส. ซึ่งสำหรับสายอาชีพจะได้ชื่อว่า "เรียนเพื่อทำงาน" อย่างแท้จริง ได้3วุฒิ ( ปวช.ปวส,และปริญญาตรี)

ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง ถ้าเรียนสายสามัญ ค่อนข้างเสี่ยงในการออกกลางคัน ในระหว่างเรียน ม. 4 ถึง ปริญญาตรีปีที่ 4 ห้ามพลาดแม้แต่เทอมเดียว ถ้าพลาด ก็ไม่มีประกาศนียบัตรมารองรับทางวิชาชีพสักใบเลย ทำงานอะไรก็ไม่ได้ แต่ถ้าเรียนสายอาชีพ ปวช. ถึงปริญญาตรี อาจจะเรียนจบ ปวช. แล้วหยุด ก็ยังทำงานได้ มีประกาศนียบัตรรับรอง ถ้าเรียนต่อปวส. แล้วหยุด ก็ยังทำงานได้ โดยไม่ต้องจบปริญญาตรี มีประกาศนียบัตรทางวิชาชีพรับรองอีกด้วย ถ้าเรียนสายอาชีพจนถึงระดับปริญญาตรี ก็จะเป็นการง่ายต่อการทำความเข้าใจทางวิชาชีพเพราะมีพื้นฐานมาจาก ปวช. และ ปวส.

ที่สำคัญ ขณะนี้การเรียนทางสายอาชีพ มี พระราชบัญญัติอาชีวศึกษาออกมาแล้วว่า การจัดการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษา สามารถจัดได้ถึงระดับปริญญาตรี เทียบเท่าสายสามัญ ฉะนั้น การเรียนด้านสายอาชีพจะเข้าถึงการทำงานเฉพาะทางได้เร็วกว่า และลึกซึ้งกว่าการเรียนสายสามัญ

ถ้าเทียบกับชาวต่างประเทศนะครับ รัฐบาลของเขาพยายามสร้างคนให้มีอาชีพ มากกว่าที่จะ ให้คนเรียนจนสูงสุดก่อนที่จะทำงาน

ข้อดีของการเรียนสายสามัญ
การเรียนสายสามัญเป็นทางเลือกที่นักเรียน ม.ต้น ส่วนใหญ่ของประเทศเลือกที่จะเรียน ใครที่รู้ตัวเองว่าอยากเรียนแพทย์ พยาบาล หรือทำงานในวิชาชีพวิทยาศาสตร์ ก็คงต้องมุ่งสามัญเถอะครับ ทางนี้ทางเดียว การเรียนสายสามัญในสังคมไทยจะมองว่า เป็นสายของเด็กเรียน แต่งตัวสะอาด ซึ่งในความเป็นจริงก็มีทั้งดี และไม่ดีแตกต่างกันไป

สายสามัญ มีแผนการเรียนให้เลือกด้านต่างๆ ตามวิชาที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์, ศิลป์ – คำนวณ, ศิลป์ – ภาษา, ศิลป์ – สังคม เป็นต้น การเลือกแผนการเรียนนั้นสำคัญมากๆ หากเลือกผิดอาจทำให้เครียดจนหัวฟู เตรียมตว สอบแข่งขันกันพร้อมหรือยัง

ข้อดีของการเรียนสายอาชีพ


การเรียนในสายอาชีพ จุดเด่นที่สุดนั้นก็คือจะได้โอกาสทำงานสูง มีฝึกงาน ฝึกทักษะอยู่เรื่อยๆ และที่สำคัญมีสาขาวิชาให้เลือกเพียบ เช่น สาขาเทคนิคยานยนต์ สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาการบริหารธุรกิจ สาขาคหกรรม หรือสาขาศิลปกรรม สายอาชีพหากเป็นสถาบันของรัฐ จะเรียน 5 เทอมอีก 1 เทอมจะฝึกงาน บางแห่งก็ได้เงินด้วย จบปริญญาเช่นกัน

การเรียนสายอาชีพ เมื่อจบ ปวช.3 แล้วก็สามารถสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือต่อ ปวส. ได้ทั้งคู่ ในปัจจุบันมีสถาบันที่สอนสายอาชีพหลายแห่งมากๆ ทั้งวิทยาลัยเทคนิค , วิทยาลัยพาณิชยการ , วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ หรือวิทยาลัยนาฎศิลป สุดท้ายนี้ อยากบอกว่า ผู้ที่เรียนสายอาชีพ ไม่มีใครตกงานแม้แต่คนเดียว แถมเก่งเรื่องทักษะปฏิบัติอีกด้วย เหมาะกับเศรษฐกิจช่วงนี้จริงๆ
สรุปว่า
 -เรียนอะรไเท่ห์หมด แต่เรียนจบเท่ห์กว่า (ดีทุกสาย)
-ถ้าเรียนต่อสายสามัญอย่างน้อย 7 ปี ถึงจะมีงานทำ ในเมื่อคุณเลือกเรียนต่อสายสามัญ เรียนให้จบป.ตรี (ถ้าไม่จบผ่านสองถึงสามปี มีวุฒิเท่าเดิม)
-หากเรียนสายอาชีพเพียง 3 ปี จบปวช.ก็มีงานทำแล้ว เพราะกฎหมายอนุญาตอายุ 18 ปี ทำงานได้แล้วครับ อาจได้สามวุฒิ (ปวช,ปวส,ปริญญา)

เลือกในสิ่งที่ใช่ ได้ในสิ่งที่ชอบ.....
คำตอบ คือ ความสำเร็จ

สอบถาม 038-415622 ต่อ 126 
เรียนสาย อ.พิม

หรือ ค้นหา ไอดี ไลน์ นี้ 
ajpim

บทความเด่น